สภาพทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 บ้านอิสานเศรษฐกิจ ตำบลไพบูลย์ อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ที่ว่าการอำเภอน้ำขุ่น โดยมีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอน้ำขุ่น ประมาณ 16 กิโลเมตร และอยู่จาก ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 116 กิโลเมตร
เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 112 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,747 ไร่
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกุดเรือ อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี และ ตำบลกุดเสลา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโคกสะอาด อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และ ตำบลโนนสำราญ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลขี้เหล็ก และ ตำบลตาเกา อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลขนุน อำเภอกันทรลักษ์ และ ตำบลกุดเสลา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
เขตการปกครอง
เขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์ มีหมู่บ้าน ทั้งหมด 15 หมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มพื้นที่
ประชากร
ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์ มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,105 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 7,678 คน แยกเป็น ชาย 3,845 คน หญิง 3,773 คน ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | ครัวเรือน |
---|---|---|---|---|
1 | บ้านหนองโด | 469 | 447 | 288 |
2 | บ้านอิสานเศรษฐกิจ | 224 | 211 | 125 |
3 | บ้านโนนสว่าง | 158 | 164 | 98 |
4 | บ้านหนองดุม | 261 | 248 | 140 |
5 | บ้านแสนถาวร | 230 | 235 | 136 |
6 | บ้านไพบูลย์ | 236 | 264 | 125 |
7 | บ้านดอนโมกข์ | 274 | 285 | 139 |
8 | บ้านโนนคำแก้ว | 218 | 201 | 107 |
9 | บ้านสามแยกวังเสือ | 160 | 176 | 92 |
10 | บ้านสว่างอารมณ์ | 335 | 308 | 178 |
11 | บ้านหนองดุมเหนือ | 177 | 173 | 86 |
12 | บ้านหนองโดน้อย | 163 | 171 | 99 |
13 | บ้านสว่างสุขเกษม | 235 | 221 | 164 |
14 | บ้านดอนเจริญ | 391 | 386 | 175 |
15 | บ้านหนองดุมตะวันออก | 314 | 283 | 153 |
ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอน้ำขุ่น (ข้อมูล ณ เดือน มกราคม พ.ศ. 2561)
ลักษณะภูมิเทศ
องค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และรองลง รับจ้างทั่วไป สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย อุ้มน้ำได้ไม่ดีนัก มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก อุปโภค บริโภค ได้แก่ ลำห้วยซอม ลำห้วยยาง หนองบึง และคลองส่งน้ำ แต่ยังไม่เพียงพอกับการเกษตร เนื่องจากตำบลไพบูลย์มีขนาดเนื้อที่มาก
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกันยายน และมักจะปรากฏเสมอว่าฝนจะทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เหมือนกันในแต่ละปีและในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุดีเปรสชั่น ฝนตกชุกบางปีอาจเกินภาวะน้ำท่วม
ฤดูหนาว ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนภูมิภาคอื่นโดยอุณหภูมิจะเริ่มลดต่ำลง ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และจะหนาวจัดในช่วงมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในระดับ 19.4 องศาเซนเซียส
ฤดูร้อน อากาศจะเริ่มร้อนในเดือน มีนาคม ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม ซึ่งอาจมีฝนเริ่มตกอยู่บ้างในปลายเดือนเมษายน และพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในระดับ 27.5 องศาเซนเซียส
การคมนาคม
พื้นที่รับผิดชอบของตำบลไพบูลย์ ถนนนระหว่าง ตำบลไพบูลย์ – อำเภอน้ำขุ่น จะเป็น ถนนลูกรัง, ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนลาดยาง ถนนระหว่างหมู่บ้าน จะเป็น ถนนลูกรัง และ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนถนนภายในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ประมาณ 75%
การโทรคมนาคมการติดต่อสื่อสาร
- ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 10 แห่ง
หน่วยธุรกิจในเขตรับผิดชอบ
พื้นที่รับผิดชอบของตำบลไพบูลย์ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยมีอาชีพหลัก คือ ทำนา อาชีพรอง คือ ทำไร่
- ปั๊มน้ำมัน และก๊าซ จำนวน 1 แห่ง
- ปั๊มหลอด จำนวน 11 แห่ง
- โรงสี จำนวน 10 แห่ง
- ร้านค้าปลีก จำนวน 39 แห่ง
- ร้านซ่อมรถ/อู่ จำนวน 3 แห่ง
แหล่งท่องเที่ยว
- สวนป่านกกระยางขาว
- และฝ่ายลำห้วยซอม
ไฟฟ้า
- จำนวนหมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 15 หมู่บ้าน
- จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 1,902 ครัวเรือน
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ ,ลำห้วย จำนวน 3 สาย
- บึง ,หนองน้ำ จำนวน 4 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- บ่อโยก จำนวน 14 แห่ง
- ฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 7 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง
มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จำนวน 250 คน
- สมาชิกตำรวจชุมชน จำนวน 106 คน
- อสม. จำนวน 138 คน