Print this page

สภาพทั่วไป

      องค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 บ้านอิสานเศรษฐกิจ ตำบลไพบูลย์ อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ที่ว่าการอำเภอน้ำขุ่น โดยมีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอน้ำขุ่น ประมาณ 16 กิโลเมตร และอยู่จาก ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 116 กิโลเมตร

เนื้อที่

      องค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 112 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,747 ไร่

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกุดเรือ อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี และ ตำบลกุดเสลา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโคกสะอาด อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และ ตำบลโนนสำราญ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลขี้เหล็ก และ ตำบลตาเกา อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลขนุน อำเภอกันทรลักษ์ และ ตำบลกุดเสลา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

เขตการปกครอง

      เขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์ มีหมู่บ้าน ทั้งหมด 15 หมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มพื้นที่

ประชากร

      ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์ มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,105 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 7,678 คน แยกเป็น ชาย 3,845 คน หญิง 3,773 คน ดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง ครัวเรือน
1 บ้านหนองโด 469 447 288
2 บ้านอิสานเศรษฐกิจ 224 211 125
3 บ้านโนนสว่าง 158 164 98
4 บ้านหนองดุม 261 248 140
5 บ้านแสนถาวร 230 235 136
6 บ้านไพบูลย์ 236 264 125
7 บ้านดอนโมกข์ 274 285 139
8 บ้านโนนคำแก้ว 218 201 107
9 บ้านสามแยกวังเสือ 160 176 92
10 บ้านสว่างอารมณ์ 335 308 178
11 บ้านหนองดุมเหนือ 177 173 86
12 บ้านหนองโดน้อย 163 171 99
13 บ้านสว่างสุขเกษม 235 221 164
14 บ้านดอนเจริญ 391 386 175
15 บ้านหนองดุมตะวันออก 314 283 153

      ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอน้ำขุ่น (ข้อมูล ณ เดือน มกราคม พ.ศ. 2561)

ลักษณะภูมิเทศ

      องค์การบริหารส่วนตำบลไพบูลย์ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และรองลง รับจ้างทั่วไป สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย อุ้มน้ำได้ไม่ดีนัก มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก อุปโภค บริโภค ได้แก่ ลำห้วยซอม ลำห้วยยาง หนองบึง และคลองส่งน้ำ แต่ยังไม่เพียงพอกับการเกษตร เนื่องจากตำบลไพบูลย์มีขนาดเนื้อที่มาก

ลักษณะภูมิอากาศ

      ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกันยายน และมักจะปรากฏเสมอว่าฝนจะทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เหมือนกันในแต่ละปีและในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุดีเปรสชั่น ฝนตกชุกบางปีอาจเกินภาวะน้ำท่วม

      ฤดูหนาว ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนภูมิภาคอื่นโดยอุณหภูมิจะเริ่มลดต่ำลง ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และจะหนาวจัดในช่วงมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในระดับ 19.4 องศาเซนเซียส

      ฤดูร้อน อากาศจะเริ่มร้อนในเดือน มีนาคม ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม ซึ่งอาจมีฝนเริ่มตกอยู่บ้างในปลายเดือนเมษายน และพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในระดับ 27.5 องศาเซนเซียส

การคมนาคม

      พื้นที่รับผิดชอบของตำบลไพบูลย์ ถนนนระหว่าง ตำบลไพบูลย์ – อำเภอน้ำขุ่น จะเป็น ถนนลูกรัง, ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนลาดยาง ถนนระหว่างหมู่บ้าน จะเป็น ถนนลูกรัง และ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนถนนภายในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ประมาณ 75%

การโทรคมนาคมการติดต่อสื่อสาร

  1. ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง
  2. ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 10 แห่ง

หน่วยธุรกิจในเขตรับผิดชอบ

      พื้นที่รับผิดชอบของตำบลไพบูลย์ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยมีอาชีพหลัก คือ ทำนา อาชีพรอง คือ ทำไร่

  1. ปั๊มน้ำมัน และก๊าซ จำนวน 1 แห่ง
  2. ปั๊มหลอด จำนวน 11 แห่ง
  3. โรงสี จำนวน 10 แห่ง
  4. ร้านค้าปลีก จำนวน 39 แห่ง
  5. ร้านซ่อมรถ/อู่ จำนวน 3 แห่ง

แหล่งท่องเที่ยว

  1. สวนป่านกกระยางขาว
  2. และฝ่ายลำห้วยซอม

ไฟฟ้า

  1. จำนวนหมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 15 หมู่บ้าน
  2. จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 1,902 ครัวเรือน

แหล่งน้ำธรรมชาติ

  1. ลำน้ำ ,ลำห้วย จำนวน 3 สาย
  2. บึง ,หนองน้ำ จำนวน 4 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

  1. บ่อโยก จำนวน 14 แห่ง
  2. ฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 7 แห่ง
  3. ประปาหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง

มวลชนจัดตั้ง

  1. ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จำนวน 250 คน
  2. สมาชิกตำรวจชุมชน จำนวน 106 คน
  3. อสม. จำนวน 138 คน